คุณล่ะครับ...เชื่อเหมือนกันไหม ?

ผมเชื่อในเรื่องการสร้างความสำเร็จที่ยั่งยืน...

ที่ปรึกษาการตลาด Nine Polthep

หลายท่านที่เคยเรียนอบรมหลักสูตรการขายกับผม ผมมักจะบอกเสมอว่าคำปฏิเสธเดียวสำหรับผมคือคำว่า “ไม่ซื้อ” เท่านั้น คำอื่นๆสำหรับผมเป็นแค่ข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นในใจลูกค้าเท่านั้น วันนี้ยังไม่ซื้อ วันหน้าไม่ใช่ว่าไม่มีโอกาสในการเป็นลูกค้านะครับ

วันนี้ผมจะมาแบ่งปันวิธีการคัดกรองและวิเคราะห์ว่าสิ่งที่ลูกค้าบอกเรามานั้น มันใช่คำปฎิเสธจริงหรือไม่ ให้กับนักขายหลายๆท่านนำไปปรับใช้กัน ดังนี้ครับ

1. ลูกค้า “ปฏิเสธ” หรือเป็นแค่ “ข้อโต้แย้ง”

คำพูดยอดฮิตที่เหล่านักขายมักได้ยินบ่อยๆ อย่างเช่น ขอกลับไปคิดดูก่อน ผมอยากให้ทุกท่านลองวิเคราะห์สถานการณ์ดูดีๆครับ ว่าที่จริงแล้วลูกค้าคิดอย่างไร เช่น อาจจะได้ข้อมูลจากเราแล้วแต่ยังไม่สนใจ ต้องการใช้เวลาในการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือปฏิเสธทางอ้อม แต่อย่างไรแล้วลูกค้าก็ยังไม่ได้พูดนี่ครับ เพราะฉะนั้นอย่าทิ้ง Leads ไปดื้อๆ แต่ให้เก็บลูกค้าไว้ในลิสต์ที่ต้องติดตามต่อไปในอนาคตแทน

อบรมหลักสูตรการขาย

2. ลูกค้าพูด “ข้อเท็จจริง” หรือ “ความคิดเห็น”

กรณีที่ลูกค้าอาจเคยพบเห็นรีวิวในด้านลบจากผู้บริโภคคนอื่นๆทาง Social Media เช่น “ฉันได้ยินมาว่าพนักงานขายที่นี่ มีปัญหาเรื่องมาตรฐานในการให้บริการ ฉันจะมั่นใจให้คุณดูแลได้หรอ?” สิ่งสำคัญของการเป็นที่ปรึกษาการขาย คือ การรับฟัง และทำความเข้าใจ ปัญหา/ข้อกังวลใจ ของลูกค้า และปรับมาเป็นข้อเสนอที่ตรงใจกับลูกค้ามากขึ้น เช่น “ผมเข้าใจว่าลูกค้ามีข้อกังวลใจในเกี่ยวกับมาตรฐานการบริการ ตามที่ได้ยินจากที่อื่นมาใช่ไหมครับ ผมขออนุญาตให้ข้อมูลการรับประกันคุณภาพบริการดังนี้ครับ…”

หลักสูตรพัฒนาทักษะการขาย

3. สิ่งที่ลูกค้าโต้แย้งมาเป็น “สิ่งที่ควบคุมได้” หรือ “ควบคุมไม่ได้”

ทำความเข้าใจ วิเคราะห์ปัญหา ข้อกังวลใจ ที่ลูกค้ากล่าวมาเป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ ก็แค่หาวิธีที่ช่วยแก้ปัญหานั้นๆให้กับลูกค้า แต่หากเหนือความควบคุมหรือเกินอำนาจหน้าที่ที่เราจะรับผิดชอบได้ เราก็ต้องสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจได้มากที่สุดเท่านั้นเองครับ

หลักสูตรพนักงานขาย

แค่ลองปรับวิธีคิด เปลี่ยนมุมมอง และไม่ย่อท้อเมื่อโดนคำปฏิเสธจากลูกค้า เพราะอาชีพนักขายกับการโดนปฏิเสธเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย… ลองนำเทคนิคจากหลักสูตรพัฒนาทักษะการขายของผมไปปรับใช้ให้การรับมือกับข้อโต้แย้ง หรือ คำปฏิเสธของลูกค้า เป็นเรื่องที่ง่ายกว่าเดิมกันดูนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

การรักษาฐานลูกค้าในธุรกิจคลินิกเสริมความงาม ให้อยู่กับคลินิกของเราไปนานๆ นอกจากเรื่องพื้นฐานสำคัญในเรื่องความน่าเชื่อถือ และฝีมือคุณหมอแล้ว มีปัจจัยอื่นๆ ที่มีส่วนอย่างมากในการทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง มีดังนี้ครับ

1.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

พนักงานขายมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้ลูกค้าหลายคนกลับมาใช้บริการ หรือตัดสินใจไม่กลับมาใช้บริการอีกเลย นั่นคือ พนักงานขาย พนักงานขายจะต้องแสดงออกถึงความเป็นมิตร ใส่ใจ เช่น การจดจำชื่อ และข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับลูกค้าได้ รวมถึงการให้คำแนะนำที่ดี ไม่ Hard Sell จนลูกค้าอึดอัด ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประสบการณ์ และความสัมพันธ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้

2.ติดต่อและติดตามอยู่เสมอ

ติดตามผลการรักษาของลูกค้าและให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลตัวเองหลังการรักษา เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการดูแลและเอาใจใส่ ซึ่งในช่วงนี้มีโอกาสที่จะกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าและเปลี่ยนจากลูกค้าขาจรมาเป็นลูกค้าประจำได้

3.ใส่ใจคำติชม

สอบถามความคิดเห็นของลูกค้าหลังการใช้บริการ ให้เรารู้จุดอ่อน หรือจุดแข็งของคลินิกได้ เพื่อนำจุดอ่อนมาปรับปรุงบริการ หรือนำจุดแข็งมาสื่อสารแบรนด์ให้ดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้

4.การติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่อง

การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ เช่น อีเมล, SMS, หรือโซเชียลมีเดีย ในการส่งข้อมูลข่าวสาร โปรโมชัน หรือคำแนะนำการดูแลสุขภาพความงาม เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ

5.สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าเก่าโดยเฉพาะ

ธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ไม่ได้เกิดจากการหาลูกค้าใหม่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นการที่ลูกค้าเก่ายังคงอยู่ด้วย ดังนั้นการทำ Loyalty Program จะช่วยให้ลูกค้า กลับมาใช้บริการคลินิกของคุณได้อย่างสม่ำเสมอ เช่น การสะสมยอดบิลเพื่อแลกรับของรางวัล หรือการได้บริการพิเศษในวันเกิด

นอกจาก 5 ข้อที่ผมกล่าวมา สิ่งสำคัญในการรักษาฐานลูกค้าอีกอย่างหนึ่ง คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลการบริการ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาช่วยในการวางแผนการตลาดร่วมด้วย จึงจะสร้างผลลัพธ์ สร้างความมั่นคง ให้กับคลินิกในระยะยาวได้ครับ

หากท่านที่เคยได้เรียนหลักสูตรการขายแบบที่ปรึกษา Sell Me If You Can กับผม จะเห็นได้ว่าผมให้ความสำคัญกับเรื่องแนวคิดหรือทัศนคติมาเป็นอันดับแรก ด้วยความเชื่อที่ว่า “เมื่อวิธีคิดผ่าน… วิธีการจะตามมาเอง”

เพราะทัศนคติที่ดีจะทำให้ปัญหาเล็กหรือใหญ่ที่กำลังเผชิญ กลายเป็นแค่เรื่องท้าทาย ที่ต้องเอาชนะให้ได้ และที่สำคัญการมีทัศนคติที่ดีต่องาน จะทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขอีกด้วย

วันนี้ผมมีทัศนคติต้องห้าม ที่เป็นอุปสรรค จนอาจส่งผลเสียต่อการขาย และความสัมพันธ์กับลูกค้ามีอะไรบ้างมาดูไปพร้อมกันครับ

การไม่ฟังลูกค้า

การพูดแต่เรื่อง(สินค้า/บริการ)ของตนเอง โดยไม่ฟังสิ่งที่ลูกค้าต้องการพูด อาจทำให้พลาดโอกาสในการเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

❌การมองลูกค้าเป็นเพียงแค่ยอดขาย

หลายครั้งที่นักขายมักต้องการที่จะปิดยอดขาย ก็จะคิดแต่ว่าทำอย่างไรให้ลูกค้าซื้อ โดยไม่สนใจปัญหาหรือความพึงพอใจของลูกค้า ทำให้ขาดความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน และลูกค้าอาจไม่กลับมาซื้อซ้ำอีก

❌การไม่เรียนรู้และพัฒนาตนเอง

สำหรับการขายนั้นต้องอาศัยทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นอย่างมาก การไม่เรียนรู้ และพัฒนาทักษะใหม่ๆ จะทำให้คุณขาดมุมมองใหม่ ก้าวไม่ทันคู่แข่ง และขาดความสามารถในการแข่งขันกับผู้อื่นได้

การโทษผู้อื่น

การมีทัศนคติที่โทษผู้อื่นหรือสถานการณ์เมื่อเกิดปัญหาใดๆก็ตาม โดยไม่มองหาวิธีการแก้ไขหรือพัฒนาตัวเอง ทำให้ไม่สามารถพัฒนา และปรับปรุงการทำงานได้

การกลัวการโดนปฏิเสธ

นักขายกับการโดนปฏิเสธเป็นเรื่องปกติ เหมือนพระอาทิตย์ขึ้นทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกนั่นแหละครับ ซึ่งการกลัวการโดนปฏิเสธ จะส่งผลให้คุณไม่กล้าหรือพยายามที่จะนำเสนอขาย ทำให้พลาดโอกาสในการสร้างยอดขายใหม่ได้

การมีทัศนคติที่เหมาะสม ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในอาชีพนักขายได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะทัศนคติจะนำไปสู่การกระทำเสมอ

หลายๆครั้ง เซลล์มักจะใช้คำถามปลายปิด ที่เปรียบเสมือนปิดประตูการขายตัวเอง ด้วยคำพูดยอดฮิตอย่างคำว่า “สนใจไหมครับ/คะ ?”

หากลูกค้าสวนกลับมาว่า “ไม่สนใจ” เซลล์ก็คงไม่พ้นที่จะต้อง ยิ้มเจื่อน และอาจเกิด Dead Air ในวงสนทนาอย่างแน่นอน

เพราะฉะนั้น คำว่าสนใจไหม? จากประสบการณ์การขายของผม จึงไม่ใช่เครื่องมือที่เหมาะสมในการขายที่ดีนัก นอกจากจะไม่สร้างความน่าสนใจแล้ว ยังเปิดประตูให้ลูกค้าของคุณปฏิเสธได้อย่างง่ายดาย

นอกจากนี้ยังเป็นคำถาม ที่ทำให้เซลล์ดูเหมือนว่ากำลังขายสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว แทนที่จะเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้เล่าประสบการณ์ ความคิดเห็น หรือความต้องการ เพื่อค้นหา Insight ในใจลูกค้า ให้ได้รู้ว่าในการตัดสินใจซื้อลูกค้ามีจุดตัดสินใจอยู่ที่เรื่องใด

สำหรับนักขาย ผมอยากให้ลองดูตัวอย่างการถามคำถามปลายเปิด ดังนี้ครับ…

เปลี่ยนจาก “คุณลูกค้าสนใจ XXX ใช่ไหมครับ?” มาเป็น “คุณลูกค้ามีปัญหาอะไรอยู่บ้าง เพื่อให้ผมเลือกนำเสนอสินค้า/บริการที่แก้ปัญหาได้ตรงจุดครับ?”

หรือเปลี่ยนประโยคทิ้งท้ายจาก “ถ้าคุณลูกค้าสนใจ XXX ติดต่อได้เลยนะครับ” มาเป็น “ในการเลือกซื้อ XXX คุณลูกค้าต้องการข้อมูลใดสำหรับการพิจารณาเลือกซื้ออีกบ้างครับ?”



เพียงแค่คุณลองเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้เล่าเรื่อง เล่าถึงปัญหา และความต้องการ ก็เป็นการแสดงถึงความสนใจที่อยากจะแก้ปัญหาให้ลูกค้า มากกว่าความอยากที่จะขายสินค้าหรือบริการของตนเองเพียงอย่างเดียว

อีกทั้งยังช่วยให้คุณมีข้อมูลที่เพียงพอเพื่อเชื่อมโยงมาสู่การนำเสนอขาย ได้ตรงความต้องการของลูกค้า ให้ลูกค้ามองคุณเป็นเซลล์ที่ใช่ ที่สามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้จริง

นักขายทุกท่าน เคยสังเกตกันไหมครับว่า “การขาย” กับ “การจีบใครสักคน” เป็นสิ่งที่มีความคล้ายคลึงกันอย่างไม่น่าเชื่อ👫💞

การดูแลลูกค้าไม่ใช่เพียงแค่เรื่องการจัดซื้อส่งมอบเท่านั้น แต่มีความสำคัญเหมือนกับการรักษาความสัมพันธ์กับคนที่เรารัก การเข้าใจความต้องการ การให้ความสนใจ และเอาใจใส่ เปรียบเสมือนการจีบแฟน ที่ต้องให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแรงและยั่งยืน

ดูแล “ลูกค้า” ให้เหมือน “คนรัก” อย่างไร ลองมาดูเทคนิคจากผม ดังนี้ครับ…

1.เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจ

เหมือนการจีบแฟนที่ต้องใส่ใจฟังและเข้าใจความคิดเห็น การให้ความสำคัญกับความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นพื้นฐานที่สำคัญ

2.การสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำ

เหมือนการจีบแฟนที่ต้องการสร้างความประทับใจ การมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเป็นวิธีหนึ่งที่จะสร้างความภักดีและความผูกพัน

3.การสื่อสารที่ดี

เสมือนการให้ความสนใจแฟน การสื่อสารที่ชัดเจน และเปิดเผยเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความเข้าใจและความไว้วางใจ

4.การตอบสนองอย่างรวดเร็ว

เหมือนการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อข้อสงสัยหรือความต้องการของแฟน การมีความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาและการให้บริการที่มีคุณภาพจะทำให้ลูกค้ารู้สึกถูกใจและมีความพึงพอใจ

5.การดูแลแบบใส่ใจ

เสมือนการให้ความรักและเข้าใจอย่างลึกซึ้ง การมีความเอาใจใส่และให้ความสำคัญกับรายละเอียดเล็กๆ จะสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงและแข็งแรง

การดูแลลูกค้าไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการขายสินค้าหรือบริการเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนและมั่นคง เหมือนการจีบแฟนที่ต้องให้ความสนใจและรักษาไว้ด้วยความใส่ใจทุกวัน ดังนั้นให้เรามองการดูแลลูกค้าเป็นการรักษาความสัมพันธ์ที่มีคุณค่าและเชื่อมั่นในระยะยาวเช่นเดียวกับการรักษาความสัมพันธ์กับคนที่เรารักอย่างแท้จริง การดูแลลูกค้าเหมือนจีบแฟนทุกวัน จึงเป็นหน้าที่ที่ควรสำคัญและควรใส่ใจอย่างสม่ำเสมอในธุรกิจและองค์กรของเรา

เคยได้ยินไหมครับ… รู้เขารู้เรา ขายร้อยครั้ง ปิดยอดได้ร้อยครั้ง “ถ้าคุณรู้จักลูกค้าดีพอ”

หลังวิกฤตการณ์โควิด-19 และเหตุการณ์ความผันผวนต่างๆทั่วโลก ส่งผลให้พฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

คุณลองสังเกตตัวเองหรือคนรอบตัวก็ได้ครับว่าnก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการอะไรสักอย่าง คุณยังตัดสินใจได้ปุปปัปหรือคิดแล้วคิดอีก ก่อนสแกนจ่ายเงินรึเปล่า?

ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องเศรษฐกิจ ค่านิยม หรืออื่นๆ ที่ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป..

โดยสิ่งเหล่านี้ สร้างความท้าทายให้นักขายและนักการตลาดทั่วโลก ให้ต้องมีการปรับตัวและพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา

ใครที่เคยเรียนใน คลาส Sell Me If You Can อาจจะคุ้นเคยกับประโยคที่ว่า “นักขายที่ดีไม่ควรเป็นแค่นักขาย แต่ควรเป็น นักแก้ปัญหาตัวยง” เพราะไม่ว่าพฤติกรรมลูกค้าจะเปลี่ยนไปเป็นแบบไหน สิ่งหนึ่งที่นักขายที่ดีควรทำ ก็คือ… “การรับฟัง” ปัญหาหรือความต้องการของลูกค้า และตอบโจทย์ให้ตรงประเด็นและรวดเร็วที่สุดซึ่งเป็นโอกาสให้คุณสามารถปิดการขายได้ง่ายขึ้น

ผมเจอข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับแนวโน้มพฤติกรรมลูกค้าในอีก 5 ปีข้างหน้าจากมินเทล (ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยความต้องการของผู้บริโภค) ซึ่งคาดการณ์ไว้ดังนี้

1.ลูกค้าใส่ใจตัวเองมากขึ้น

โฟกัสการดูแลและพัฒนาตัวตนด้วยสิ่งใหม่ๆ เพื่อให้มีสุขภาพจิต สุขภาพร่างกาย และความเป็นอยู่ที่ดี

2.ลูกค้าอยากมีส่วนร่วมมากขึ้น

ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อสินค้าหรือบริการของแบรนด์ ให้ตอบโจทย์ความต้องการมากยิ่งขึ้น

3.ลูกค้าต้องการความสะดวกมากขึ้น

เนื่องจากสะสมความเหนื่อยล้าจากสิ่งรอบตัวมากเกินไป จึงต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

4.ลูกค้ามีแพชชั่นกับสินค้าท้องถิ่นมากขึ้น

ใส่ใจในวัตถุดิบ ความโปร่งใส อยากช่วยเหลือและอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่นมากขึ้น

5.ลูกค้ามีความรอบคอบมากขึ้น

เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพสูงขึ้น จึงมีความคำนึงถึงความทนทานและความคุ้มค่ามากขึ้น

จะเห็นได้ว่า สิ่งที่นักขายจะต้องเรียนรู้และปรับตัว คือการ “ฟัง” ความคิดเห็น ความต้องการ และปัญหาของลูกค้าให้มากขึ้น ยิ่งคุณรู้ว่า ลูกค้าของคุณคือใคร? มีพฤติกรรมการซื้อหรือใช้บริการแบบไหน คุณก็จะยิ่งสามารถแก้ปัญหาและตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้นได้ง่ายและตรงประเด็นที่สุด ต่อยอดให้คุณสามารถเพิ่มยอดขายและสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้ไม่สิ้นสุดนั่นเองครับ

ไม่ใช่ก็ไม่ง้อ… เมื่อการลาออกเป็นเรื่องธรรมดาของสังคมสมัยใหม่ แล้วเจ้าของธุรกิจ SMEs หรือ HR จะปรับตัวอย่างไร ให้ดึงดูดคนเก่งเข้ามาทำงาน และรักษาคนเหล่านั้นให้อยู่กับองค์กรไปนานๆ

ผมเชื่อว่าหลายๆท่านคงคุ้นเคยกับ Customer Journey ของการตลาด Employee Journey ก็คล้ายกัน คือองค์กรจะต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้พูดคุย รับฟัง และเสนอความเห็นได้ ทำให้เราเข้าใจ และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด สร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นในใจพนักงาน เช่นเดียวกันกับลูกค้า

ซึ่งคนถือเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้า เพราะฉะนั้นการออกแบบประสบการณ์ที่สร้างความประทับใจสำหรับพนักงาน ผมมีเครื่องมือที่ชื่อว่า Employee Journey มาให้เพื่อนๆนำไปปรับใช้ในองค์กรกันครับ

โดยสิ่งที่เราจะต้องสนใจใน Journey ก็คือ Touchpoint ที่เข้ามากระทบที่ทำให้พนักงานรู้สึก ‘พึงพอใจ’ หรือ ‘ไม่พึงพอใจ’ ในองค์กร ดังนี้ครับ…

Hire

เริ่มตั้งขั้นตอนการออกแบบรูปแบบการทำงาน เพื่อดึงดูดคนเก่งสนใจอยากจะสมัครเข้ามาสัมภาษณ์ รวมถึงในระหว่างการสัมภาษณ์งาน ที่ผู้สัมภาษณ์จะต้องมีความเป็นมืออาชีพ และเป็นมิตร ซึ่งถือเป็นภาพจำแรกของพนักงานที่มีต่อองค์กรเลยทีเดียว

Onboarding

เมื่อเข้ามาเป็นพนักงานแล้ว องค์กรจะมีโปรแกรมในการดูแลพนักงานในช่วงเริ่มต้นอย่างไร มีการสร้างบรรยากาศที่ดี หรือการทำให้พนักงานมีทีมในการทำงานร่วมกัน โดยสิ่งเหล่านี้จะทำให้พนักงานรู้สึกอยากร่วมงานกับองค์กร หรือตัดสินใจไปที่อื่นนั่นเองครับ

Performance Review

เมื่อทดลองงานไประยะหนึ่ง พนักงานย่อมอยากรับรู้ถึงผลงานของตนเองว่าดีหรือไม่ดีตรงไหนบ้าง องค์กรของเราจะมีการประเมินอย่างไรให้พนักงานทราบถึงผลลัพธ์การทำงาน

Learning Development

เมื่อพนักงานรู้ถึงข้อที่ควรปรับปรุง สิ่งถัดมาองค์กรมีระบบอะไรที่ช่วยพัฒนาเพื่อให้สิ่งเหล่านั้นดีขึ้น หรือหากพนักงานมีจุดแข็งอะไรบางอย่าง องค์กรจะทำอย่างไรให้พนักงานเป็นคนที่เก่ง หรือโดดเด่นได้มากขึ้นกว่าเดิม

Career Management

เมื่อทำงานไปสักระยะหนึ่ง พนักงานมักมีคำถามว่า จะเติบโตในสายงานนี้ได้อย่างไร หากองค์กรสามารถสร้าง Touchpoint ในจุดนี้ได้ดี ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกพึงพอใจจนอาจไม่เปลี่ยนใจย้ายไปที่อื่นเลยก็เป็นได้

Retire

เมื่อพนักงานลาออก หรือเกษณียนอายุไป หากองค์กรสามารถสร้าง Tochpoint ในระหว่างทางได้ดี พนักงานก็จะรักองค์กรจนทำให้ส่งต่อภาพลักษณ์ที่ดีไปสู่คนรอบข้าง หรือแนะนำคนอื่นให้มาร่วมงานกับองค์กรก็คงไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ

แต่ Tochpoint ทั้งหมดที่กล่าวมาจะเกิดผลในด้านบวกได้ ต้องเกิดจากความร่วมมือในการที่ HR เป็นผู้สร้างระบบที่ดี และ Manager เป็นผู้สื่อสารระบบนี้ จนทำให้พนักงานรู้สึกดี หรือไม่ดี เมื่อต้องทำงานร่วมกัน

เห็นไหมครับว่า… การดูแลพนักงานในองค์กรไม่ใช่เพียงการดูแลเรื่องของการทำงานเท่านั้น แต่การสร้างความประทับใจอื่นๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมให้พนักงานเกิดความรู้สึกรักองค์กร และพร้อมที่จะทุ่มเทให้กับองค์กรได้เช่นกันครับ😊

คนทั่วไป หรือผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ มักเข้าใจว่าการทำ Marketing คือ การยิง Ads. โฆษณา การทำ Google Ads หรือการทำลด/แลก/แจก/แถม ซึ่งก็ไม่ได้ผิดนะครับ เพียงแต่สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการสื่อสารการตลาดเท่านั้น

ซึ่ง “Marketing” สำหรับผมมันคือการสื่อสารการตลาด การสื่อสารแบรนด์ของเรา ที่เราออกแบบไว้อยากให้ผู้บริโภคจำว่าเราเป็นแบบไหน สื่อสารออกไปให้ถึงผู้บริโภค โดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่า Media ทั้ง Offline และ Online ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง วิดีโอ หรือแม้กระทั่งประสบการณ์ ณ จุดขาย กลิ่น เสียงที่ผู้บริโภคได้ยิน ล้วนแล้วแต่เป็นการสื่อสารการตลาดผ่านประสาทสัมผัสของลูกค้า ขึ้นอยู่กับว่าสินค้า/บริการของเราคืออะไร

“Branding” มันคือตัวตนของเรา เราอยากเป็นคนแบบไหน หน้าตา รูปลักษณ์อย่างไร แต่ Marketing คือการบอกเล่าความเป็นตัวเราออกไปให้คนอื่นได้รับรู้ว่าเราเป็นคนแบบนี้ หรือฉันมีนิสัยแบบนี้นะ

หลายท่านอาจจะสงสัยว่า แล้ว Branding มันสำคัญ หรือมีประโยชน์อย่างไรล่ะ ผมอยากให้ลองนึกภาพตามแบบนี้ครับ…

ลองนึกถึงเสื้อเชิ้ต คุณนึกถึงยี่ห้ออะไรครับ? แล้วถ้าเป็นกาแฟล่ะคุณนึกถึงยี่ห้อใด? หรือรองเท้ากีฬาล่ะครับจะเป็นแบรนด์ไหน? ลองนับ 1… 2… 3… ชื่อแรกที่ปรากฎขึ้นมาในใจของท่านคือแบรนด์อะไรกันบ้าง

ผมเชื่อว่าหลายท่านก็มีคำตอบในใจที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป้าหมายของการทำธุรกิจ ก็คือ การทำให้ชื่อสินค้า/บริการ ของเราไปปรากฎอยู่ในหัวของลูกค้า ตอนที่เขานึกถึงหรือกำลังจะซื้อสินค้าในหมวดหมู่นั้นๆ เช่น ถ้าคุณขายเสื้อเชิ้ต ชื่อของแบรนด์คุณต้องเป็นชื่อที่ลูกค้านึกถึง

ผมว่าคำตอบของการทำ Branding ก็อยู่ในคำถามที่ถามไปเมื่อสักครู่นั่นแหละครับ ทำอย่างไรให้ลูกค้าคิดถึงชื่อแบรนด์ของเรา ขณะที่เขาคิดจะซื้อสินค้า/บริการ ที่เราขาย ไม่ได้คิดถึงคู่แข่งเรา และนี่ก็คือความสำคัญของการทำ Branding นั่นเองครับ

เผยมุมมองการ ‘สืบทอดกิจการครอบครัว’ ที่เปรียบเสมือนทั้ง ‘ทางลัด’ และ ‘อุปสรรค-ความท้าทาย’ ในการประสบความสำเร็จทางธุรกิจ… จะทำอย่างไร? หากผู้ส่งต่อกิจการกำลังกลัวการปล่อยมือ หรือ ผู้สืบทอดกิจการ ไม่อาจทนต่อแรงกดดันและความคาดหวังมหาศาล ทั้งจากครอบครัวและบุคลากรในองค์กรได้? และการสืบทอดความสำเร็จของกิจการครอบครัว เป็นเรื่องง่ายกว่าการเริ่มต้นจาก ‘ศูนย์’ จริงหรือ?

ลองดูคำแนะนำ วิธีรับมือ และทางออกของปัญหาเหล่านี้ จากประสบการณ์ส่วนตัวและการให้คำปรึกษากับนักธุรกิจ ทั้งรุ่นเก๋าและรุ่นเจ๋ง ไปพร้อมๆกันครับ

การส่งต่อธุรกิจครอบครัวในยุคปัจจุบัน

หากพูดถึง ‘ธุรกิจครอบครัว’ จากประสบการณ์การให้คำปรึกษาของผม แน่นอนว่าจะมีทั้งเคสที่ประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จ หรืออาจจะก้ำๆกึ่งๆ จะล้มเหลวก็ไม่ แต่จะไปต่อก็ไม่ได้… ซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลาของธุรกิจที่จะส่งต่อ โดยเจ้าของหรือผู้ก่อตั้งเริ่มมีอายุเยอะ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องเผชิญกับโลกในยุคที่ปรับเปลี่ยนรวดเร็ว ด้วยการเข้ามาของระบบ Digital ทำให้ปรับตัวไม่ทัน และไม่สามารถตามทันการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคได้

ดังนั้น เมื่อเจอคู่แข่งทางธุรกิจรุ่นใหม่ๆ ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการเข้าใจผู้บริโภคในยุคดิจิทัลได้มากกว่า ส่งผลให้ธุรกิจ แม้อาจจะไม่ล้ม เพราะยังมีลูกค้าประจำกลุ่มเดิมอยู่ แต่ก็ไม่สามารถเติบโตได้เช่นกัน

ทว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกค้ากลุ่มเดิมลดลง หรือเกิดการร่วงโรยตามกาลเวลา ธุรกิจก็จะเริ่มเข้าสู่ช่วง Declining Phase หรือช่วงที่ยอดขายลดลง เพราะไม่สามารถหาลูกค้ากลุ่มใหม่ได้ เนื่องจากไม่เข้าใจการหาลูกค้ากลุ่มใหม่นั่นเอง

แก้ปัญหาด้วยการ ‘เปลี่ยนมือ’ ตามยุคที่เปลี่ยนไป

ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงของโลกและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว สิ่งที่เจ้าของธุรกิจรุ่นใหญ่ มักจะเลือกทำมี 2 ทาง คือ

1. ส่งต่อให้ผู้สืบทอดรุ่นลูกที่เต็มไปด้วยความสดใหม่ และมีความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภครุ่นใหม่ได้มากกว่า เข้ามารับช่วงต่อในการเป็นผู้บริหาร เพื่อนำพาองค์กรให้เติบโตได้มากขึ้น

2. มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับ Marketing, Technology หรือ Digital ที่เจ้าของธุรกิจรุ่นใหญ่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ออกไปให้ Agency หรือ Outsource ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากกว่ามารับผิดชอบ ซึ่งหากไม่ได้มีการเรียนรู้ไปพร้อมกัน ปัญหาเรื่องการไม่เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค ก็จะไม่ได้รับการแก้ไขต่อไปในอนาคต

ความท้าทายของ ‘การส่งต่อ’ ให้รุ่นลูกเข้ามา ‘สานต่อการบริหาร’

หากจะพูดในเรื่องของการ ส่งไม้ต่อธุรกิจและการสานต่อธุรกิจครอบครัว จากประสบการณ์ที่ได้พูดคุยกับเจ้าของธุรกิจทั้งรุ่นใหญ่ รุ่นพ่อ-แม่ และรุ่นลูก ผมขอสรุปแบ่งเป็น 3 กรณี ดังนี้ครับ

1. กรณีที่เป็น “Best Case”

สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ แบรนด์จะสามารถกลับมาเติบโตได้มากขึ้น เข้าใจลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ สร้างลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ จนสามารถสร้าง New S-Curve ให้กับธุรกิจได้จริง ๆ

2. กรณีที่เป็น “Fail Case”

แม้จะเกิดจากความตั้งใจจะเปลี่ยนผ่าน ตั้งใจจะส่งต่อ และตั้งใจจะรับมอบ ไม่ต่างกันกับเคสอื่น แต่อาจเกิดปัญหา ‘จูนกันไม่ติด’ ซึ่งมาจากความกังวลใจของพ่อ-แม่ ในมุมมองที่ไม่เคยเห็นถึงความตั้งใจทำงานของลูก

3. กรณีที่ “ไม่อยากสานต่อ”

หลายเคสที่พ่อ-แม่ รู้สึกมืดแปดด้าน ทันทีที่ได้ยินคำว่า “ขอไม่รับช่วงต่อ” ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมมักจะแนะนำให้พ่อ-แม่ ลองหา ‘ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ’ ที่เชี่ยวชาญและเข้าใจ เพื่อช่วยคุณตัดสินใจจัดการกับธุรกิจ เช่น การทอดตลาด หรือขายทรัพย์สิน เพื่อปิดกิจการ ได้อย่างเป็นระบบ ระเบียบ ถูกต้อง เหมาะสม และคุ้มค่ากับคุณค่าของธุรกิจคุณที่สุด โดยไม่ฝืนใจลูก

ความท้าทายที่ต้องเผชิญ จาก ‘มุมมอง’ ที่แตกต่างกัน

ในมุมมองของพ่อ-แม่ : เมื่อถึงเวลาต้องให้มารับสืบทอดอาณาจักรที่เราตรากตรำสร้างขึ้นมา กว่าจะมาถึงในวันที่มียอดขายมูลค่า 10 ล้าน 100 ล้าน 1,000 ล้าน จึงไม่แปลกหากจะเกิดเหตุการณ์ที่ พ่อ-แม่ จะส่งมอบแบบ ‘ครึ่งๆ กลางๆ’ เหมือนจะปล่อยวาง แต่ก็อาจกำลัง ‘ก้าวก่ายโดยไม่รู้ตัว’ เพราะอดไม่ได้ที่จะเข้าไปช่วยสอนหรือช่วยตัดสินใจ เพราะยังไม่อาจปล่อยมือแบบ 100% นั่นเองครับ

ในมุมมองของลูก : เมื่อถึงเวลาตกลงรับช่วงต่อธุรกิจ แน่นอนว่าต้องมีความ ‘ตั้งใจ’ อยากจะช่วยพ่อ-แม่ เพราะเคยเห็นทั้งความตั้งใจ ความยากลำบาก และความเหนื่อยของรุ่นพ่อ-แม่มาก่อน แต่เมื่อถึงเวลาต้องรับ ‘กุญแจ’ ของธุรกิจมาจริง ๆ กลับไม่สามารถใช้ได้ หรืออาจจะมีเหตุการณ์ ‘ไขกุญแจถูกบ้าง-ผิดบ้าง’ ซึ่งเป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องทำในสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำ

ลองปล่อยมือจาก ‘แฮนด์จักรยาน’ มาจับ ‘ท้ายจักรยาน’ บ้างหรือยัง?

เมื่อผู้รับสืบทอดกิจการหรือลูกของคุณ เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น ความพยายาม และความตั้งใจในการเสนอไอเดียต่างๆ อย่างเต็มที่ ทว่า สิ่งที่ได้รับจากคนรุ่นใหญ่หรือพ่อ-แม่ คือ การมองข้าม และไม่ยอมรับไอเดียเหล่านั้น อาจจะด้วยเหตุผลจากประสบการณ์ที่ผ่านมาที่เคยทำแล้ว ไม่เวิร์ค หรือ ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี จนกลายเป็นการปิดกั้นความคิด การตัดสินใจ และความมั่นใจของลูกไปโดยปริยาย

สิ่งที่พ่อ-แม่ ควรทำ คือ หากคุณต้องการให้ลูกขี่จักรยานเป็น อย่านั่งสอนให้ขี่จักรยานบนโต๊ะข้าวหรือห้องประชุม แต่สอนให้ขี่จักรยานข้างนอก ลองปล่อยให้ล้ม แล้วค่อยช่วงประคองก็ยังไม่สาย ซึ่งการทำธุรกิจก็เช่นกัน หากคุณอยากให้ลูกตัดสินใจได้ คิดเองได้ ทำธุรกิจเป็น แต่พ่อ-แม่ ยังคอยบงการทุกอย่าง ทุกความคิด แน่นอนว่าผลลัพธ์จะไม่มีทางเป็นไปตามที่หวังได้

ดังนั้น หากคุณต้องการส่งผ่านธุรกิจจริงๆ ต้องกล้าที่จะให้เกิดการลองผิด-ลองถูก โดยอาจเริ่มจากเรื่องเล็กๆ แล้วค่อยๆ ไล่ขึ้นไปเรื่องใหญ่ๆ กำหนดกรอบการทำงานให้ชัดเจน กำหนดขีดความเสียหายที่สามารถยอมรับได้ แล้วจึงให้อำนาจผู้สืบทอดหรือลูก ไปลองคิด ลองทำ ลองตัดสินใจ ด้วยแรงผลักดันจากความเชื่อมั่นจากครอบครัวเป็นอันดับแรก

3 คำที่ห้ามลืม ก่อนส่งต่อกิจการ

คำว่า “พร้อมหรือยัง?” คือ 3 คำที่สามารถพ่วงมาด้วยปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวในอนาคตได้ ซึ่งโดยปกติ การส่งมอบอะไรบางอย่างให้บุคคลอื่น สิ่งที่ควรทำคือ ‘ความสมัครใจ’ หรือ ‘ความเต็มใจ’ ของผู้รับ เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะส่งต่อกิจการ คำถามสำคัญที่รุ่นพ่อ-แม่ ควรถามลูก คือ “กิจการที่จะรับไปพร้อมกับความคาดหวังและกดดัน คือสิ่งที่พร้อมจะรับหรืออยากได้หรือเปล่า?”

เมื่อลูกไม่อยากเป็น “ผู้นำ” แต่จำเป็นต้อง “รับช่วงต่อ”

ผมมองว่า หากลูกสามารถยอมรับการเป็นที่ 2 ในองค์กรได้ ทางออกแรกที่ง่ายที่สุด คือ การขายหุ้นบางส่วน และให้หุ้นส่วนเข้ามาเป็นผู้บริหาร หรือทางที่สอง คือ จ้างผู้บริหารมืออาชีพ เข้ามาเป็นผู้บริหารในองค์กรแทน หรือทางที่สาม คือ เอาเข้าตลาดหลักทรัพย์ มีบอร์ดบริหารมืออาชีพ มีนักลงทุนเข้ามาถือหุ้น ส่วนเจ้าของธุรกิจก็สามารถถอยออกมาเป็นผู้ถือหุ้นร่วมได้ โดยไม่ต้องให้ลูกบริหาร แต่ยังคงสถานะเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดิม ซึ่งมีหลายครอบครัวที่เลือกใช้วิธีนี้เช่นกัน

ทั้ง 3 ทางออกข้างต้น เป็นเพียงความคิดเห็นจากผมเท่านั้นนะครับ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้องที่สุด แต่ผมเชื่อว่า จะสามารถทำให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้ โดยที่ทุกคนในครอบครัว ‘มีความสุข’ ครับ

ธุรกิจไม่สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ ต้องทำอย่างไร?

ลองพิจารณาจากสถานการณ์ของกิจการก่อนครับ เช่น สถานการณ์ปัจจุบัน กิจการยังมีกำไรหรือขาดทุนอยู่ไหม? มีหนี้ที่ต้องชำระหรือไม่? หรือ ไม่มีหนี้ และเป็น Positive Cash Flow สามารถทำกำไรได้ทุกเดือน ซึ่งหากลูกไม่อยากรับสืบทอดกิจการ ก็อาจพิจารณาตัดสินใจ ‘ปิดกิจการ’ ได้

ขณะเดียวกัน หากในกรณีที่กิจการติดลบ มีหนี้สิน และยังเป็น Negative Cash Flow อยู่ทุกเดือน สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกคือ หาหนทางการชำระหนี้ แก้ไขให้เป็น Positive Cash Flow ก่อน แล้วจึงค่อยพิจารณาเรื่องการส่งต่อธุรกิจหรือปิดกิจการต่อไปในอนาคต

ฝาก ‘กำลังใจ’ ให้ผู้สืบทอดกิจการ

ผมมองว่า ณ ปัจจุบันที่คุณมีทั้ง ทางเลือก และเครื่องไม้เครื่องมือ ที่จะช่วยคุณต่อยอดสร้างธุรกิจเยอะแยะมากมาย และสิ่งสำคัญที่สุด คือ กำลังใจ ผมเชื่อว่า “ไม่มีอะไรภายใต้ดวงอาทิตย์ดวงนี้ ที่มนุษย์ตั้งใจแล้วทำไม่ได้”

ผมเข้าใจดีว่า การรับสืบทอดธุรกิจ มักมาพร้อมกับความกดดันมหาศาล ในการรับผิดชอบดูแลอาณาจักรที่พ่อ-แม่ หรือบรรพบุรุษรุ่นแรกได้สร้างขึ้นมา แน่นอนว่า การเริ่มต้นต่อยอดธุรกิจ คือสิ่งที่ง่ายกว่าการเริ่มต้นจาก ‘ศูนย์’ ทว่า ในขณะเดียวกัน ความยากของการสืบทอดธุรกิจ ก็คือ การบริหารจัดการ ‘ความกดดันและความคาดหวังของครอบครัว’ ที่ต้องอาศัยแรงใจอันแข็งแกร่ง ในการเอาชนะกับภายในจิตใจและความคิดของตัวเอง

หากคุณมองว่า ความกดดันเหล่านั้นไม่ใช่อุปสรรค เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนความท้าทาย ให้กลายเป็นความสนุก และมีความสุขในทุกวัน สิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยให้นักบริหารมือใหม่ หรือผู้สืบทอดกิจการรุ่นใหม่ สามารถนำพาองค์กรให้เติบโตในแบบเจ๋งๆ ได้ไม่แพ้ความสำเร็จของรุ่นเก๋า แน่นอนครับ

เผยมุมมองและล้วงเคล็ดลับการทำธุรกิจร้านกาแฟจาก คุณมิกซ์ – คุณนุ่น เจ้าของแบรนด์กาแฟพรีเมียม จากคนที่ไม่ดื่มกาแฟ สู่การสร้างแบรนด์ “Varinda Specialty Coffee” ให้เป็น Community สำหรับคนรักกาแฟ ที่ไม่มีเมนู Signature ไม่เคยลดราคา และไม่คิดจะทำ Marketing แต่สามารถพาธุรกิจให้เติบโตและไปต่อได้ด้วย “Branding” ที่แข็งแกร่ง

☕️ จุดเริ่มต้นของ Varinda Specialty Coffee

เริ่มต้นจากคุณมิกซ์ที่เริ่มจากการอยากทำธุรกิจของตัวเอง ซึ่งเป็นช่วงที่ Specialty Coffee กำลังเป็นที่รู้จักในประเทศไทย จึงมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งจากเดิมเป็นคนที่ไม่ดื่มกาแฟเลย เพราะไม่ว่าพยายามลองกี่ครั้ง ก็รู้สึกว่า ‘ไม่เคยอร่อย’ จนกระทั่งมาเจอกับ Specialty Coffee ที่หลังจากได้ลองแล้วกลับรู้สึกว่า ‘Relax’ และ ‘Enjoy’ อย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน

ดังนั้น คุณมิกซ์จึงรู้สึกว่า หากจะทำกาแฟขึ้นมา ก็อยากเลือกทำกาแฟที่เป็นมากกว่าแค่ทำให้ ตื่น แต่ทำให้ทานแล้วรู้สึก ‘Enjoy’ ได้ค้นหาอะไรบางอย่าง เช่น กลิ่น รสชาติ และประสบการณ์การดื่มที่มีมากกว่า

ส่วนคุณนุ่น ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ด้วยความที่ยังหาซื้อกาแฟ Specialty Coffee ได้ยาก จึงเลือกดื่มกาแฟนมเป็นหลัก จนได้ตัดสินใจทำธุรกิจร่วมกัน ด้วยเหตุผลหลัก คือ อยากทำธุรกิจเป็นของตัวเอง

แน่นอนว่าหลังจากเริ่มทำไปเรื่อยๆ ก็คิดว่าอยากมี Character เป็นของตัวเองจริงๆ และจะคั่วกาแฟเองด้วย ขณะเดียวกัน ก็เป็นช่วงที่เทรนด์เรื่องนี้กำลังมาแรงขึ้นเรื่อยๆ จึงตัดสินใจได้ว่าจะ เปิดร้านกาแฟ

☕️ ปัญหาที่คน ‘ไม่ดื่มกาแฟ’ แต่ ‘เปิดร้านกาแฟ’ ต้องเจอ

แน่นอนว่าปัญหานี้ เป็นของคุณมิกซ์ที่เมื่อตัวเองไม่ดื่มกาแฟ ก็จะไม่ทราบเลยว่าคนอื่น ๆ ที่ทานกาแฟจะตัดสินว่า รสชาติแบบนี้ เรียกว่าอร่อยหรือไม่? ซึ่งอย่างเดียวที่จะทดสอบ เพื่อตอบข้อสงสัยได้ คือ ต้องเปิดร้านก่อน หากลูกค้ามาทานแล้วกลับมาซื้อซ้ำ คำตอบก็คือใช่ แน่นอนว่า เมื่อมาทำร้านจริงๆ คุณนุ่นคิดว่าความยาก คือ เราต้องสนใจ ‘ความรู้สึก’ ของลูกค้าเป็นหลัก

☕️ เมื่อไหร่ที่คนจำ คำว่า “Varinda” ได้ ก็จะจำได้ตลอดไป

ความท้าทายแรกของการเริ่มสร้างแบรนด์ คือ จะตั้งชื่อแบรนด์อย่างไรให้ลูกค้าจดจำ ซึ่งทั้ง 2 คน ตัดสินใจเลือกคำว่า “Varinda” เกิดจากการผสมผสานระหว่างคำว่า ‘Va-’ จากคำขึ้นต้นนามสกุลของคุณมิกซ์ คือ ‘วศินระพี’ และ ‘-rinda’ คำลงท้ายจากชื่อจริงของคุณนุ่น คือ ‘รินรดา’ ซึ่งรวมกันเป็นชื่อแบรนด์ “Varinda Specialty Coffee” ที่แสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณและความเป็นตัวตนของทั้งคู่ลงไปด้วยนั่นเอง

☕️ จุดยืนที่มั่นคง ในวันที่คู่แข่ง Specialty Coffee ล้นตลาด

จากวันที่ร้านกาแฟ Specialty หายาก สู่วันที่หาได้ทั่วเกือบทุกหัวมุมถนน คุณมิกซ์กล่าวว่า สิ่งที่จะทำให้ Varinda ไม่จม โดดเด่น และแตกต่างจากร้านอื่น คือ “เราจะไม่ยอมเสิร์ฟอะไรที่หลุด Standand ให้ไปถึงมือลูกค้าเด็ดขาด” เพราะฉะนั้น ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่า “เมื่อไหร่ก็ตามที่มีคำว่า Varinda อยู่ แปลว่า คุณสามารถไว้ใจได้ แน่นอน 100%”

☕️ คำนิยามความ Specialty Coffee ในสไตล์ของ Varinda

หากจะพูดถึงความ Specialty ในมุมของ Varinda คุณมิกซ์มองว่า Specialty = Testability นั่นหมายความว่า เมื่อคุณได้ลองลิ้มรสกาแฟแก้วหนึ่ง ก็ควรจะได้ทราบด้วยว่า กาแฟในแก้วมีแหล่งที่มาจากที่ไหน? ใครเป็นคนคั่ว? ใครเป็นคนปลูก? หรือแม้กระทั่ง ปลูกเมื่อไหร่? เก็บเกี่ยวเมื่อไหร่? นั่นเพราะว่า ความตั้งใจในการมี Specialty Coffee Association ขึ้นมาในโลก ก็เพื่อช่วยพัฒนา Supply Chain ตั้งแต่ปลายน้ำถึงต้นน้ำ ก็คือ เกษตรกร

ซึ่งหน้าที่ของ Varinda คือ จะทำอย่างไร? ให้กาแฟเหล่านั้นออกมาเป็น Character ตามที่ผู้ปลูกอยากให้เป็นได้ดีที่สุด

☕️ ท้าทายความกลัว เอาชนะด้วย “ความรู้และประสบการณ์”

คุณมิกซ์เผยมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจจากคนที่ไม่ดื่มกาแฟว่า ความกลัวก็เรื่องหนึ่ง เพราะ Specialty Coffee มีราคาสูงกว่ากาแฟในตลาดทั่วไป แต่ในเมื่อเรายินดีที่จะจ่ายในราคานี้ ก็เชื่อว่าต้องมีคนที่คิดเหมือนเรา เพื่อตามหาและลิ้มรสชาติแบบนี้เช่นกัน

จากที่ไม่เคยรู้เลยว่า รสขมของกาแฟ เกิดมาจากอะไร? ซึ่งพอมาเริ่มศึกษาจริงๆ จึงได้รู้ว่ากาแฟที่ไม่มีรสขม เกิดจากการเก็บให้ดี คั่วให้ดี และชงให้ดี ซึ่งนั่นคือโจทย์ของคุณมิกซ์ว่า จะต้องทำอย่างไร? จึงจะรักษามาตรฐานเหล่านี้ไว้ได้ตลอดเวลา

เพราะคำว่า รสชาติ แม้จะอ่านหนังสือทฤษฎีมากมายเท่าไหร่ ตราบใดที่ไม่มีใครมาบอกว่า รสชาติ แบบนี้เรียกว่าอะไร? เราก็จะไม่มีทางรู้มาตรฐานเหล่านั้นจริง ๆ

หลังจากได้เรียนรู้จากเพื่อนอิตาลีคนหนึ่งที่มาช่วยไกด์ว่า รสชาติแบบนี้คืออะไร? เกิดขึ้นจากกระบวนการไหน? และจะต้องแก้ไขอย่างไร? ก็ทำให้ทั้งคุณมิกซ์และคุณนุ่นสามารถเก็บประสบการณ์มาเรื่อย ๆ จนถึงวันที่รู้สึกว่า ‘อยากเพิ่ม Standand ของตัวเองให้มากขึ้น และคอนเฟิร์มว่าการรับรสของตัวเองถูกต้องมากน้อยแค่ไหน?’

☕️ เริ่มต้นเส้นทางการทดสอบ ‘Q Grader ’ สู่ ‘คว้าแชมป์’ การแข่งขันระดับประเทศ

คุณมิกซ์เริ่มด้วยการสอบ Q Grader* เพื่อรับรองการเป็นนักชิมกาแฟ สู่การคว้า Champion of Diedrich Specialty Coffee Roasting Competition of Thailand 2020 มาเป็นแชมป์แรก และคว้าแชมป์คู่ รางวัล Champion of Thailand Coffee Profiling Challenge 2022

ซึ่งทำให้ได้เรียนรู้ เปิดมุมมอง และสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ ในโลกของกาแฟ โดยเริ่มจากคุณมิกซ์มุ่งมั่น ตั้งใจ เรียนรู้ และลงมือลองคั่วกาแฟในปีแรก มากกว่า 2,000 Batch เพื่อให้เห็นทุกการเปลี่ยนแปลงว่าจะส่งผลต่อรสชาติอย่างไร? แน่นอนว่าไม่ใช่ทุก Batch ที่คั่วแล้วจะนำไปขายได้จริง ดังนั้น ต้นทุนที่เสียก็ไม่น้อยเช่นกัน

☕️ Every cup has it’s own story

เมื่อถามว่าอะไรทำให้ Varinda กล้าลงทุน คุณมิกซ์พูดประโยคหนึ่งที่ชอบมาก ๆ คือ “Every cup has it’s own story” ในเมื่อกาแฟทุกแก้วมีเรื่องราวของตัวเองอยู่ จึงอยากเสิร์ฟกาแฟแก้วที่สามารถเล่าเรื่องราวของตัวเองได้ดีที่สุด ดังนั้น ความตั้งใจของ Varinda คือ Keep position ให้เป็นแบรนด์ที่เสิร์ฟกาแฟที่มีคุณภาพสูงเท่านั้น

☕️ Quality meet Standards ด้วย ‘Data’ ไม่ใช่ ‘ความรู้สึก’

สิ่งหนึ่งที่ทำให้การลงทุนคั่วเมล็ดกาแฟของ Varinda ไม่สูญเปล่า คือ ข้อมูล (Data) คุณนุ่นกล่าวว่า การคั่วเมล็ดกาแฟของคุณมิกซ์แต่ละ Batch จะมีการเก็บ Data ไว้เสมอ เพื่อให้เมล็ดกาแฟที่ออกมาไม่ Compromise quality และ Consistency จริง ๆ โดยรับรองได้ด้วยตัวเลขและ Data มากกว่าการใช้ความรู้สึกตัดสิน

☕️ Varinda ไม่ลดราคา ไม่มี Signature ไม่อวดรางวัล ไม่ทำ Marketing

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คุณมิกซ์วาง Positioning ของแบรนด์ Varinda ไว้ว่าจะ “ไม่มีส่วนลดและไม่ลดราคา” เพื่อสร้างภาพจำว่า คือ แบรนด์พรีเมียม และตราบใดก็ตามที่ Varinda มีสินค้ามานำเสนอ นั่นหมายความว่า “Varinda เลือกให้แล้ว”

ส่วนเหตุผลที่ Varinda ไม่มีเมนู Signature เพราะ อยากให้ลูกค้าได้เข้ามาลอง “กาแฟที่เป็นกาแฟจริง ๆ” นั่นหมายความว่า อยากให้ลูกค้าสัมผัสถึง Character ของเมล็ดกาแฟที่อยากทานจริง ๆ มากกว่าเสิร์ฟกาแฟตามสูตรที่มีอยู่ ซึ่งจะทำให้ลูกค้ารู้สึกสนุกกับการค้นหารสชาติกาแฟของตัวเองมากกว่า

นอกจากนี้ แม้ทั้งคุณมิกซ์และคุณนุ่น จะผ่านการคว้าแชมป์ระดับประเทศมาทั้งคู่ แต่กลับไม่คิดจะใช้เรื่องนี้เป็นภาพจำของแบรนด์ Varinda เพราะมองว่า ไม่อยากให้ลูกค้าคาดหวังมากจนเกินไปเช่นกัน

☕️ อนาคตของ Varinda ที่เป็นมากกว่าร้านกาแฟ

คุณมิกซ์และคุณนุ่นคาดว่าในอนาคต Varinda จะสามารถเป็นศูนย์กลางของคนรักกาแฟได้ โดยปัจจุบันเริ่มสร้าง Community ให้ความรู้ ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ ทั้งเรื่องอุปกรณ์และเมล็ดกาแฟ รวมถึงทุกเรื่องราวของ “Specialty Coffee” สำหรับคนที่สนใจอยากเรียนรู้เรื่องกาแฟตั้งแต่เริ่มต้นได้อย่างครบวงจร

หลังจากที่เราได้คุยกับคุณมิกซ์และคุณนุ่น สิ่งที่ผมได้เรียนรู้และอยากแชร์ให้ทุกท่านเรียนรู้ไปพร้อมกัน คือ

1. แม้จะไม่มีพื้นฐานการทำธุรกิจใดๆ มาก่อน แต่การศึกษา หาข้อมูล เรียนรู้ และลงมือทำ

อย่างที่คุณมิกซ์และคุณนุ่นได้ลองผิด ลองถูก และเรียนรู้ที่จะใช้ Data ในการพัฒนา Product ให้เป็นสูตรของ Varinda เองที่ไม่ Compromise quality คือสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

2. เงินทุนไม่เยอะไม่ใช่ปัญหาเสมอไป

เพราะการทำ Branding ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะ แต่ใช้ความทุ่มเท ตั้งใจ สนุก และพร้อมเรียนรู้กับการแก้ไขปัญหาไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะ SMEs หากอยากประสบความสำเร็จ และลูกค้าจดจำตัวตนของเราได้ สิ่งสำคัญคือการ รักษาจุดยืนและตัวตนอย่างจริงจัง ตั้งใจ และต่อเนื่อง

3. ในมุมของ Business Model Canvas การวาง Key Partner และ Cost Structure สำคัญมากๆ

เพราะ การมี Partner ที่ดี คือแต้มต่อทางธุรกิจของ SMEs ที่มีทรัพยากรจำกัด และสามารถนำจุดแข็งของตัวเองและพาร์ทเนอร์ มาร่วมสร้าง Product ที่มีคุณค่าใหม่ๆ ให้กับลูกค้าได้ ส่วน Cost Structure ที่แม่นยำ ก็จะยิ่งสามารถทำให้ธุรกิจของคุณอยู่รอดและเติบโตได้อย่างมั่นคงมากขึ้น

ขอขอบคุณการแชร์ข้อมูลและประสบการณ์ดีๆ จาก : คุณมิกซ์-พีระศิน วศินระพี และคุณนุ่น-รินรดา กาญจนวงศ์ไพศาล เจ้าของธุรกิจร้านกาแฟ สามารถติดตามและเข้าไปใช้บริการ ลิ้มรสกาแฟ Specialy Coffee ได้ทาง Facebook : Varinda Coffee Roaster, IG : Varinda.coffee.roaster และหน้าร้าน Varinda Specialty Coffee ครับ

* หมายเหตุ Q Grader คือ ใบรับรองที่ออกให้โดย Coffee Quality Institute (CQI) ซึ่งจะมอบให้กับผู้ที่ผ่านการอบรม และการสอบการพิจารณาคุณภาพของเมล็ดกาแฟ ภายใต้มาตรฐานของ CQI เพื่อการันตีว่าสามารถอธิบายลักษณะ จำแนกคุณภาพกาแฟแต่ละตัว และสามารถสื่อสารถึงลักษณะของกาแฟ กับบุคคลในวงการกาแฟด้วยศัพท์เฉพาะได้ถูกต้อง – ที่มา : www.scith.coffee

Nine Polthep

Nine Polthep

4

พวกเราใช้ความคิดสร้างสรรค์และประสบการณ์ช่วยลูกค้าพัฒนาธุรกิจ การตลาด ในฐานะที่ปรึกษาและเพื่อนร่วมทาง

Comments Box SVG iconsUsed for the like, share, comment, and reaction icons

เพราะ “มี“ ดีกว่า “ไม่มี“
.
.
.
เพราะ “กันไว้“ ดีกว่า “แก้”
.
.
.
จากใจคนที่เคยได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมาก่อน…บ้านของเราที่มีความทรงจำมากมาย รถทั้งสามคันที่นำพาเราไปยังสถานที่ต่างๆ ถูกสายน้ำทำลายภายในข้ามคืน เสียเงินไปหลายแสนกับวิกฤตครั้งนั้น เพราะอะไร? เพราะความ ‘คาดไม่ถึง‘ ครับ
.
ก่อนอื่นผมขอส่งกำลังใจให้กับทุกๆท่านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้นะครับ ครั้งนี้สาหัสมากจริงๆ
.
ความกังวลใจของผมในตอนนี้ คือ
เราจะสามารถ “ป้องกัน” และ “เตรียมตัว” ยังไงดี ?
.
การที่เราเตรียมความพร้อมในทุกๆสถานการณ์ ช่วยทำให้เราลดความกังวล และลดความเสียหายมากมายที่จะตามมาได้ครับ
.
การเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติครั้งนี้ ที่เราสามารถทำได้เลย คือ

1. ติดตามข่าวสาร สถานการ์ณน้ำท่วม ตลอดเวลา
2. หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เตรียมยกของขึ้นที่สูง ตั้งกระสอบทรายเพื่อกันน้ำเข้ามา รักษาบ้าน และรถเท่าที่จะทำได้
3. จดจำหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน
4. เตรียมอุปกรณ์ของใช้ และสิ่งจำเป็นต่างๆ ให้พร้อม เช่น โทรศัพท์มือถือ อาหารแห้ง เครื่องครัว น้ำดื่ม ยารักษาโรค
5. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ยกเบรกเกอร์ ก่อนออกจากบ้าน

ถ้าเรามีการเตรียมตัวที่ดี เราก็จะสามารถ ลด หรือลบความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นได้ครับ
.
เช่นเดียวกันกับการทำธุรกิจถ้าเราล้มแล้วต้องเริ่มใหม่หลายครั้ง เราอาจจะไม่มีกำลังมากพอ ที่จะลุกขึ้นมาได้อีกเพราะการนับหนึ่งใหม่มันไม่ง่ายเลย
.
อย่างที่โรงแรม แชงกรี-ลา เชียงใหม่ทำมีการเตรียมความพร้อมมาอย่างดี ตัว Flood Gate ทำหน้าที่กันน้ำได้อย่างดีเยี่ยมทำให้โรงแรมแห่งนี้… เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ไม่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ครับ
.
การเตรียมตัวที่ดี จะทำให้เรามีความพร้อมในทุกๆสถานการณ์
.
ทุกปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ตัวเรานั้นสามารถป้องกันไว้ก่อนได้ให้มากกลายเป็นน้อย หรืออาจกลายเป็นศูนย์ครับ
.
เป็นกำลังใจให้ทุกๆท่าน ฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ครับ
.
รูปภาพจาก คมชัดลึก
... See MoreSee Less

3 days ago

1 CommentComment on Facebook

ศรีสมานเริ่มท่วมแล้ว เป็นห่วงบ้านพี่วานะคะน้องนาย

เพราะ “มี“ ดีกว่า “ไม่มี“
.
.
.
เพราะ “กันไว้“ ดีกว่า “แก้”
.
.
.
จากใจคนที่เคยได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมาก่อน…บ้านของเราที่มีความทรงจำมากมาย รถทั้งสามคันที่นำพาเราไปยังสถานที่ต่างๆ ถูกสายน้ำทำลายภายในข้ามคืน เสียเงินไปหลายแสนกับวิกฤตครั้งนั้น เพราะอะไร? เพราะความ ‘คาดไม่ถึง‘ ครับ
.
ก่อนอื่นผมขอส่งกำลังใจให้กับทุกๆท่านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้นะครับ ครั้งนี้สาหัสมากจริงๆ
.
ความกังวลใจของผมในตอนนี้ คือ
เราจะสามารถ “ป้องกัน” และ “เตรียมตัว” ยังไงดี ?
.
การที่เราเตรียมความพร้อมในทุกๆสถานการณ์ ช่วยทำให้เราลดความกังวล และลดความเสียหายมากมายที่จะตามมาได้ครับ
.
การเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติครั้งนี้ ที่เราสามารถทำได้เลย คือ

1. ติดตามข่าวสาร สถานการ์ณน้ำท่วม ตลอดเวลา
2. หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เตรียมยกของขึ้นที่สูง ตั้งกระสอบทรายเพื่อกันน้ำเข้ามา รักษาบ้าน และรถเท่าที่จะทำได้
3. จดจำหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน
4. เตรียมอุปกรณ์ของใช้ และสิ่งจำเป็นต่างๆ ให้พร้อม เช่น โทรศัพท์มือถือ อาหารแห้ง เครื่องครัว น้ำดื่ม ยารักษาโรค
5. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ยกเบรกเกอร์ ก่อนออกจากบ้าน

ถ้าเรามีการเตรียมตัวที่ดี เราก็จะสามารถ ลด หรือลบความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นได้ครับ
.
เช่นเดียวกันกับการทำธุรกิจถ้าเราล้มแล้วต้องเริ่มใหม่หลายครั้ง เราอาจจะไม่มีกำลังมากพอ ที่จะลุกขึ้นมาได้อีกเพราะการนับหนึ่งใหม่มันไม่ง่ายเลย
.
อย่างที่โรงแรม แชงกรี-ลา เชียงใหม่ทำมีการเตรียมความพร้อมมาอย่างดี ตัว Flood Gate ทำหน้าที่กันน้ำได้อย่างดีเยี่ยมทำให้โรงแรมแห่งนี้… เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ไม่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ครับ
.
การเตรียมตัวที่ดี จะทำให้เรามีความพร้อมในทุกๆสถานการณ์
.
ทุกปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ตัวเรานั้นสามารถป้องกันไว้ก่อนได้ให้มากกลายเป็นน้อย หรืออาจกลายเป็นศูนย์ครับ
.
เป็นกำลังใจให้ทุกๆท่าน ฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ครับ
.
รูปภาพจาก คมชัดลึก

ทีมงาน Nine Polthep
ขอร่วมไว้อาลัยกับการจากไปของ

คุณกิตติเดช วิมลรัตน์
‘คุณแทน iTan - ไร้เทียมทาน'

ขอให้จากไปอย่างสุคติครับ 🖤
... See MoreSee Less

7 days ago
ทีมงาน Nine Polthep
ขอร่วมไว้อาลัยกับการจากไปของ

คุณกิตติเดช วิมลรัตน์ 
‘คุณแทน iTan - ไร้เทียมทาน 

ขอให้จากไปอย่างสุคติครับ 🖤

”100% = น้อยที่สุดที่เราจะทำ ถ้ายังพยายามทำมากกว่านั้นไม่ได้ อย่าเพิ่งดีใจ“
.
หนึ่งในคำสอนที่ฝังหัวผม มาตั้วแต่ช่วงแรกของชีวิตการเก็บประสบการณ์การด้านการตลาดของผม หลังจากถูกปฏิเสธจากบริษัทปูนยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง
.
มีโอกาสได้ร่วมงานกับนักการตลาดที่เก่งกาจท่านนึงที่ทำให้ผมได้เรียนรู้หลักคิด ในการดำเนินชีวิตด้านการทำงาน ทำธุรกิจ ให้บรรลุเป้าหมาย ว่าต้องทำอย่างไร
.
คำว่า "เต็มร้อย = น้อยที่สุด "
.
คือหลักแนวคิดที่ว่า การตั้งใจดำเนินอะไรบางอย่าง เพื่อให้
ประสบความสำเร็จในด้านนั้นๆได้ แค่เต็มร้อยมันอาจจะดูน้อยเกินไป เพราะคุณลืมไปรึป่าวว่าคนอื่นก็เต็มร้อย หรือ มากกว่าร้อย กับทางที่คุณเลือกได้เหมือนกัน
.
ดังนั้นการวางมุ่งสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรเต็มที่กับ
วิธีการเพื่อดำเนินการสู่เป้าหมายได้เกินร้อย
.
เราต้องพยายามทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมเสมอ และต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาครับ
.
อย่าภูมิใจเพียงเพราะว่าเราทำเต็มร้อยแล้ว...
เพราะ ”เต็มร้อยคือน้อยที่สุด“ สำหรับคนที่ต้องการประสบความสำเร็จครับ
.
เช่นเดียวกันกับ “การขาย“
.
เส้นทางของนักขายหรือการทำธุรกิจนั้น เป็นเส้นทางที่เราเดินไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง
.
และทุกวันคือโอกาสใหม่ในการเรียนรู้ ฝึกฝน และก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง
.
ทุกวันในสนามการขายคือโอกาสใหม่ในการเรียนรู้กลยุทธ์ ฝึกฝนทักษะการสื่อสาร และก้าวไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
.
ความเชี่ยวชาญในการปิดการขายเกิดจากการ
ลงมือทำซ้ำๆ ไม่ใช่อาศัยแค่พรสวรรค์
.
การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง แค่วันละนิดก็เป็นกุญแจสำคัญ
.
ที่ทำให้คุณมุ่งสู่ยอดขายที่เติบโตอย่างยั่งยืน
.
และนี่คือวิถีของนักขายที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง
.
ทุกการดูแลลูกค้าทุกๆคนของคุณ
.
ทุกโอกาสในการนำเสนอ
.
ทุกการปิดการขายกับลูกค้า
.
จงระลึกไว้อยู่เสมอว่า

"เราจะทำเกินร้อยเสมอ เพราะเต็มร้อย คือน้อยที่สุด สำหรับคนที่อยากประสบความสำเร็จครับ"
.
จากใจ คนที่เคยขายของไม่เป็น จนมาเป็นที่ปรึกษาการขายได้ในวันนี้ ผมอยากช่วยให้คุณ พัฒนาตัวเองสู่การเป็นที่ปรึกษาการขายที่ประสบความสำเร็จครับ
.
ทักมาพูดคุยกับผมและทีมงานได้นะครับ 😊

_______________________________________
📍
พูดคุย สอบถาม การพัฒนาตัวเอง เป็นที่ปรึกษาการขายได้ที่

LINE Official : @ninepolthep (มี @ นำหน้า)

หรือคลิกเพิ่มเพื่อน : bit.ly/NinePolthep

Tel : 092-969-9990 (คุณฟุกค์)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ninepolthep.com/sell-me-if-you-can/

#นักขายมืออาชีพ #Sales #SellMeIfYouCan #NinePolthep #ที่ปรึกษาการขาย #หลักสูตรปิดการขาย
... See MoreSee Less

1 week ago
”100% = น้อยที่สุดที่เราจะทำ ถ้ายังพยายามทำมากกว่านั้นไม่ได้ อย่าเพิ่งดีใจ“
.
หนึ่งในคำสอนที่ฝังหัวผม มาตั้วแต่ช่วงแรกของชีวิตการเก็บประสบการณ์การด้านการตลาดของผม หลังจากถูกปฏิเสธจากบริษัทปูนยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง
.
มีโอกาสได้ร่วมงานกับนักการตลาดที่เก่งกาจท่านนึงที่ทำให้ผมได้เรียนรู้หลักคิด ในการดำเนินชีวิตด้านการทำงาน ทำธุรกิจ ให้บรรลุเป้าหมาย ว่าต้องทำอย่างไร 
.
คำว่า เต็มร้อย = น้อยที่สุด 
.
คือหลักแนวคิดที่ว่า การตั้งใจดำเนินอะไรบางอย่าง เพื่อให้
ประสบความสำเร็จในด้านนั้นๆได้ แค่เต็มร้อยมันอาจจะดูน้อยเกินไป เพราะคุณลืมไปรึป่าวว่าคนอื่นก็เต็มร้อย หรือ มากกว่าร้อย กับทางที่คุณเลือกได้เหมือนกัน 
.
ดังนั้นการวางมุ่งสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรเต็มที่กับ
วิธีการเพื่อดำเนินการสู่เป้าหมายได้เกินร้อย
.
เราต้องพยายามทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมเสมอ และต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาครับ 
.
อย่าภูมิใจเพียงเพราะว่าเราทำเต็มร้อยแล้ว... 
เพราะ ”เต็มร้อยคือน้อยที่สุด“ สำหรับคนที่ต้องการประสบความสำเร็จครับ
.
เช่นเดียวกันกับ “การขาย“
.
เส้นทางของนักขายหรือการทำธุรกิจนั้น เป็นเส้นทางที่เราเดินไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง 
.
และทุกวันคือโอกาสใหม่ในการเรียนรู้ ฝึกฝน และก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง 
.
ทุกวันในสนามการขายคือโอกาสใหม่ในการเรียนรู้กลยุทธ์ ฝึกฝนทักษะการสื่อสาร และก้าวไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
.
ความเชี่ยวชาญในการปิดการขายเกิดจากการ
ลงมือทำซ้ำๆ ไม่ใช่อาศัยแค่พรสวรรค์ 
.
การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง แค่วันละนิดก็เป็นกุญแจสำคัญ
.
ที่ทำให้คุณมุ่งสู่ยอดขายที่เติบโตอย่างยั่งยืน
.
และนี่คือวิถีของนักขายที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง
.
ทุกการดูแลลูกค้าทุกๆคนของคุณ 
.
ทุกโอกาสในการนำเสนอ
.
ทุกการปิดการขายกับลูกค้า 
.
จงระลึกไว้อยู่เสมอว่า 

เราจะทำเกินร้อยเสมอ เพราะเต็มร้อย คือน้อยที่สุด สำหรับคนที่อยากประสบความสำเร็จครับ
.
จากใจ คนที่เคยขายของไม่เป็น จนมาเป็นที่ปรึกษาการขายได้ในวันนี้ ผมอยากช่วยให้คุณ พัฒนาตัวเองสู่การเป็นที่ปรึกษาการขายที่ประสบความสำเร็จครับ
.
ทักมาพูดคุยกับผมและทีมงานได้นะครับ 😊

_______________________________________
📍
พูดคุย สอบถาม การพัฒนาตัวเอง เป็นที่ปรึกษาการขายได้ที่

LINE Official : @ninepolthep (มี @ นำหน้า)

หรือคลิกเพิ่มเพื่อน : https://bit.ly/NinePolthep

Tel : 092-969-9990 (คุณฟุกค์)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://ninepolthep.com/sell-me-if-you-can/

#นักขายมืออาชีพ #Sales #SellMeIfYouCan #NinePolthep #ที่ปรึกษาการขาย #หลักสูตรปิดการขาย

ทีมงาน Nine Polthep

ขอร่วมแสดงความเสียใจ และไว้อาลัยกับเหตุการณ์
ไฟไหม้รถบัส “โรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม“ จังหวัดอุทัยธานี

ด้วยความอาลัย

- ๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ -
... See MoreSee Less

1 week ago
ทีมงาน Nine Polthep

ขอร่วมแสดงความเสียใจ และไว้อาลัยกับเหตุการณ์
ไฟไหม้รถบัส “โรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม“ จังหวัดอุทัยธานี

ด้วยความอาลัย

- ๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ -

ขอแสดงความเสียใจและ
ขอส่งกำลังใจให้กับครอบครัวน้องๆทุกคนด้วยครับ
... See MoreSee Less

1 week ago

โค้งสุดท้ายก่อนหมด 𝙀𝙖𝙧𝙡𝙮 𝘽𝙞𝙧𝙙
หลักสูตร 𝗦𝗲𝗹𝗹 𝗠𝗲 𝗜𝗳 𝗬𝗼𝘂 𝗖𝗮𝗻 : ขายให้ได้ ... ถ้า (นาย) แน่จริง!
.
โปรโมชั่นสุดคุ้มสำหรับหลักสูตรการแก้ปัญหาการขาย
ปิดการขายง่ายขึ้น! ขายยังไงให้ตรงใจลูกค้า
ปลดล็อกการขายด้วยเทคนิคที่ปรึกษา

ด้วยเทคนิคการสอนจาก อาจารย์นาย - พลเทพ มาศรังสรรค์
ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการขายมามากกว่า 15 ปี
.
สัปดาห์สุดท้าย (วันนี้ - 7 ตุลาคม 2567)
Early Bird 9,800.-
จากราคาปกติ 14,900.-
.
22 และ 29 ตุลาคม 2567
ที่โรงแรมแอสคอทท์ เอ็มบาสซี่ สาทร
_______________________________________

📌 ลงทะเบียนเรียน หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
LINE Official : @ninepolthep (มี @ นำหน้า)
หรือคลิกเพิ่มเพื่อน > bit.ly/NinePolthep
TikTok, Instagram, Youtube : Nine Polthep
Tel : 092-969-9990 (คุณฟุกค์)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ninepolthep.com/sell-me-if-you-can/
.
#NinePolthep #เทคนิคการขาย #หลักสูตรการขาย #การขายแบบที่ปรึกษา #หลักสูตรการขายแบบที่ปรึกษา #sale
... See MoreSee Less

2 weeks ago
โค้งสุดท้ายก่อนหมด 𝙀𝙖𝙧𝙡𝙮 𝘽𝙞𝙧𝙙
หลักสูตร 𝗦𝗲𝗹𝗹 𝗠𝗲 𝗜𝗳 𝗬𝗼𝘂 𝗖𝗮𝗻 : ขายให้ได้ ... ถ้า (นาย) แน่จริง!
.
โปรโมชั่นสุดคุ้มสำหรับหลักสูตรการแก้ปัญหาการขาย
ปิดการขายง่ายขึ้น! ขายยังไงให้ตรงใจลูกค้า
ปลดล็อกการขายด้วยเทคนิคที่ปรึกษา

ด้วยเทคนิคการสอนจาก อาจารย์นาย - พลเทพ มาศรังสรรค์
ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการขายมามากกว่า 15 ปี
.
สัปดาห์สุดท้าย (วันนี้ - 7 ตุลาคม 2567)
Early Bird 9,800.-
จากราคาปกติ 14,900.-
.
22 และ 29 ตุลาคม 2567
ที่โรงแรมแอสคอทท์ เอ็มบาสซี่ สาทร
_______________________________________

📌 ลงทะเบียนเรียน หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
LINE Official : @ninepolthep (มี @ นำหน้า)
หรือคลิกเพิ่มเพื่อน > https://bit.ly/NinePolthep
TikTok, Instagram, Youtube : Nine Polthep
Tel : 092-969-9990 (คุณฟุกค์)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://ninepolthep.com/sell-me-if-you-can/
.
#NinePolthep #เทคนิคการขาย #หลักสูตรการขาย #การขายแบบที่ปรึกษา #หลักสูตรการขายแบบที่ปรึกษา #sale
Load more

องค์กรที่แข็งแกร่ง ต้องแข็งแรงตั้งแต่พนักงาน

ติดต่อเราวันนี้ เพื่อรับส่วนพิเศษ