ไม่ใช่ก็ไม่ง้อ… เมื่อการลาออกเป็นเรื่องธรรมดาของสังคมสมัยใหม่ แล้วเจ้าของธุรกิจ SMEs หรือ HR จะปรับตัวอย่างไร ให้ดึงดูดคนเก่งเข้ามาทำงาน และรักษาคนเหล่านั้นให้อยู่กับองค์กรไปนานๆ
ผมเชื่อว่าหลายๆท่านคงคุ้นเคยกับ Customer Journey ของการตลาด Employee Journey ก็คล้ายกัน คือองค์กรจะต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้พูดคุย รับฟัง และเสนอความเห็นได้ ทำให้เราเข้าใจ และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด สร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นในใจพนักงาน เช่นเดียวกันกับลูกค้า
ซึ่งคนถือเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้า เพราะฉะนั้นการออกแบบประสบการณ์ที่สร้างความประทับใจสำหรับพนักงาน ผมมีเครื่องมือที่ชื่อว่า Employee Journey มาให้เพื่อนๆนำไปปรับใช้ในองค์กรกันครับ
โดยสิ่งที่เราจะต้องสนใจใน Journey ก็คือ Touchpoint ที่เข้ามากระทบที่ทำให้พนักงานรู้สึก ‘พึงพอใจ’ หรือ ‘ไม่พึงพอใจ’ ในองค์กร ดังนี้ครับ…
Hire
เริ่มตั้งขั้นตอนการออกแบบรูปแบบการทำงาน เพื่อดึงดูดคนเก่งสนใจอยากจะสมัครเข้ามาสัมภาษณ์ รวมถึงในระหว่างการสัมภาษณ์งาน ที่ผู้สัมภาษณ์จะต้องมีความเป็นมืออาชีพ และเป็นมิตร ซึ่งถือเป็นภาพจำแรกของพนักงานที่มีต่อองค์กรเลยทีเดียว
Onboarding
เมื่อเข้ามาเป็นพนักงานแล้ว องค์กรจะมีโปรแกรมในการดูแลพนักงานในช่วงเริ่มต้นอย่างไร มีการสร้างบรรยากาศที่ดี หรือการทำให้พนักงานมีทีมในการทำงานร่วมกัน โดยสิ่งเหล่านี้จะทำให้พนักงานรู้สึกอยากร่วมงานกับองค์กร หรือตัดสินใจไปที่อื่นนั่นเองครับ
Performance Review
เมื่อทดลองงานไประยะหนึ่ง พนักงานย่อมอยากรับรู้ถึงผลงานของตนเองว่าดีหรือไม่ดีตรงไหนบ้าง องค์กรของเราจะมีการประเมินอย่างไรให้พนักงานทราบถึงผลลัพธ์การทำงาน
Learning Development
เมื่อพนักงานรู้ถึงข้อที่ควรปรับปรุง สิ่งถัดมาองค์กรมีระบบอะไรที่ช่วยพัฒนาเพื่อให้สิ่งเหล่านั้นดีขึ้น หรือหากพนักงานมีจุดแข็งอะไรบางอย่าง องค์กรจะทำอย่างไรให้พนักงานเป็นคนที่เก่ง หรือโดดเด่นได้มากขึ้นกว่าเดิม
Career Management
เมื่อทำงานไปสักระยะหนึ่ง พนักงานมักมีคำถามว่า จะเติบโตในสายงานนี้ได้อย่างไร หากองค์กรสามารถสร้าง Touchpoint ในจุดนี้ได้ดี ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกพึงพอใจจนอาจไม่เปลี่ยนใจย้ายไปที่อื่นเลยก็เป็นได้
Retire
เมื่อพนักงานลาออก หรือเกษณียนอายุไป หากองค์กรสามารถสร้าง Tochpoint ในระหว่างทางได้ดี พนักงานก็จะรักองค์กรจนทำให้ส่งต่อภาพลักษณ์ที่ดีไปสู่คนรอบข้าง หรือแนะนำคนอื่นให้มาร่วมงานกับองค์กรก็คงไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ
แต่ Tochpoint ทั้งหมดที่กล่าวมาจะเกิดผลในด้านบวกได้ ต้องเกิดจากความร่วมมือในการที่ HR เป็นผู้สร้างระบบที่ดี และ Manager เป็นผู้สื่อสารระบบนี้ จนทำให้พนักงานรู้สึกดี หรือไม่ดี เมื่อต้องทำงานร่วมกัน
เห็นไหมครับว่า… การดูแลพนักงานในองค์กรไม่ใช่เพียงการดูแลเรื่องของการทำงานเท่านั้น แต่การสร้างความประทับใจอื่นๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมให้พนักงานเกิดความรู้สึกรักองค์กร และพร้อมที่จะทุ่มเทให้กับองค์กรได้เช่นกันครับ😊